"คุณนายแก้ว" เป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนืองๆ ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฎิเสธ เธอปลื้มปิติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน แต่เมื่อได้ทราบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที"สายใจ" พาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ เช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ เมื่อได้เวลาพระฉันเสร็จ ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชราและเพื่อผู้พิการเดินกระย่องกระแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย
หากสังเกตจะพบว่า การทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเหตุการณ์ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย
"ชอบทำบุญแต่ไ้ร้น้ำใจ"
เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า
คนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไร เหตุใดการนับถือพุทธศาสนา
จึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ีที่ทุกข์ยาก
การทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ
เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น
แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจนหรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก
(ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น "พวกกู" หรือ "ของกู")
แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณรและแม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์
อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน
ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่อยู่สูงเหล่านั้นสามารถบันดาลความสุข
หรือให้สิ่งดีๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ
บริจาคเงินสร้างวัดหรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข
มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เป็นต้น
หรือช่วยให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า
ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้นไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้
หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบายขึ้น เราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่านั้น
นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ
ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือ จิตใจยิ่งคับแคบ
ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้จะทำให้ได้บุญน้อยลงแน่
แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร
อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศีกษาปฎิบัติธรรมได้มากขึ้น
แต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้น ย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว
ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน
บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีกเพราะใช่หรือไม่ว่า นี่เป็นการ "ค้ากำไรเกินควร"
บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม
จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกู ของกู
ยิ่งลดได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเข้าใกล้พระนิพพาน
อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า "ปรมัตถะ"
ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ)
หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฎฐธัมมิกัตถะ)
แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมากๆ
แทนที่จะสละออกไป ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพาน หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำอันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ทานที่ไม่มีอานิสงส์มาก ได้แก่ "ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างทีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ" รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น พิจารณาเช่นนี้ก็พบว่าทานที่ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทำกันนั้น หาใช่ทานที่พระองค์สรรเสริญไม่ นอกจากทำด้วยความมุ่งหวังประโยชน์ในชาติหน้าแล้ว ยังมักมีเยื่อใยในทานที่ถวาย กล่าวคือ ทั้งๆ ที่ถวายให้พระสงฆ์ไปแล้ว ก็ยังไม่ยอมสละสิ่งนั้นออกไปจากใจ แต่ใจยังมีเยื่อใยในของชิ้นนั้นอยู่ เช่น เื่มื่อถวายอาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ยังเฝ้าดูว่าหลวงพ่อจะตักอาหารของฉัน "ฉัน" หรือไม่ หรือหากท่านไ่ม่ฉันก็รู้สึกไม่สบายใจ คิดไปต่างๆ นานา นี้แสดงว่ายังมีเยื่อใยยึดติดผูกพันอาหารนั้นว่าเป็นของฉันอยู่ ไม่ได้ถวายให้เป็นของท่านอย่างสิ้นเชิง
เยื่อใยในทานอีกลักษณะหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ
การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่าทานนั้นๆ ฉันเป็นผู้ถวาย
ดังนั้น ตามวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศ ของใช้ต่างๆ ไม่ว่า ถ้วย ชาม แก้วน้ำ
หม้อ โต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนขอบประตูหน้าต่างในโบสถ์วิหาร และศาลาการเปรียญ
จึงมีชื่อผู้บริจาคอยู่เต็มไปหมด กระทั่งพระพุทธรูปก็ไม่ละเว้น
ราวกับจะยังแสดงความเป็นเจ้าของอยู่ หาไม่ก็หวังให้ผู้คนชื่นชมสรรเสริญตน
การทำบุญอย่างนี้ จึงไม่ได้ละความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลย
หากเป็นการประกาศตัวตนอีกแบบหนึ่งนั่นเอง
การทำบุญแบบนี้มีข้อดีตรงที่ช่วยอุปถัมภ์วัดวาอารามและพระสงฆ์ให้ดำรงอยู่ได้
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากหรือไร้อำนาจวาสนา
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยมีวัดวาอารามใหญ่โตและสวยงามมากมาย
แต่เวลาเดียวกันก็มีคนยากจนและเด็กที่ถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก
ไม่นับสัตว์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกละเลย หรือถูกปลิดชีิวิตแม้กระทั่งในเขตวัด
อันที่จริง ถ้ามองให้กว้างกว่าการทำบุญ ก็จะพบปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกันนั้น
คือ คนไทยนิยมทำดีกับคนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตน แต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน เช่น ทำดีกับเจ้านาย คนรวย ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง
ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลเดียวกัน คือ คนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้ (หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มาก แต่ก็สามารถให้โทษได้) ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุ อาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ได้ เช่น คำสรรเสริญหรือการให้ความยอมรับประการหลัง คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ยากอย่างเต็มที่
แต่กลับเมินเฉยหากคนที่เดือนร้อนนั้นเป็นพม่า มอญ ลาว เขมรหรือกะเหรี่ยง ใช่หรือไม่ว่าคำชื่นชมของพม่าหรือกะเหรี่ยง ความหมายกับเราน้อยกว่าคำสรรเสริญของฝรั่ง
บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้นจะว่าไปแล้ว ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น
หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าคนอีกด้วย
แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้
เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา
การทำดีโดยหวังผลประโยชน์หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฎิบัติอยู่
ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริง
แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่า เราปฎิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ต่ำกว่าเราหรือมีอำนาจน้อยกว่าเรา หาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเราไม่
ถ้าเรายังละเลยเด็กเล็กผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วย อุปถัมภ์พระสงฆ์มากมาย ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคนใจบุญ เป็นชาวพุทธหรือเป็นมนุษย์ที่แท้
ไม่ผิดหากจะกล่าวว่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นศาสนิกที่แท้ในทุกศาสนาด้วย แม้จะปฎิบัติตามประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด แต่เมินเฉยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ หรือยิ่งกว่านั้นคือกดขี่บีฑาผู้คนในนามของพระเจ้า
ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นศาสนิกที่แท้
จะกล่าวไปใยถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อนเมื่อใจเปิดกว้างด้วยเมตตากรุณา เราจะพบว่าไม่มีใครที่อยู่สูงกว่าเราหรือต่ำกว่าเรา ถึงจะเป็นพม่า มอญ ลาว เขมร กระเหรี่ยง ลัวะ ขมุ เขาก็มีสถานะเสมอเราคือเป็นเพื่อนมนุษย์ และเป็นเพื่่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายกับเรา แม้แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนเราเช่นกัน จิตใจเช่นนี้ คือจิตใจของชาวพุทธ และเป็นที่สถิตของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การทำนุบำรุงพุทธศาสนาที่แท้ ก็คือการบำรุงหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นนี้ให้เจริญงอกงามในตัวเรา ในลูกหลานของเรา และในสังคมของเรา หาใช่การทุ่มเงินสร้างโบสถ์ วิหารราคาแพงๆ หรือสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โตที่สุดในโลกไม่
ทั้งๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้
เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณาและลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี
ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง
ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น
ยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไร เราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น
สมดังพุทธพจน์ว่า "ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข"
เป็นความสุขที่ไม่หวังจะได้รับ แต่ยิ่งไม่อยากก็ยิ่งได้
ในทางตรงข้ามยิ่งอยากก็ยิ่งไม่ได้้
ดังนั้นเมื่อใดที่เราเห็นคนทุกข์ยากขอบคุณที่มา: พระไพศาล วิสาโล
ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน เชื้อชาติอะไรต่ำต้อยเพียงใด
อย่าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา
แล้วถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้หรือไม่และอย่างไร
เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ
ลดละอัตตาตัวตน และบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง
ได้รับฟอร์เวิร์ดเมล์ฉบับนี้ปุ๊บ
ตอบลบนึกถึงกิจกรรมที่คุณอนันต์ได้นำเสนอให้เพื่อนๆ ณ สมาคมรวมปัญญาฯ เลยค่ะ :-P
อืม...
ตอบลบเราคิดว่าจะฝาก..กะตังค์ไปร่วมกิจกรรมแทนดีกว่า
เพราะเดี่ยว ตอนกลับ เจอป้าสายใจกับเพื่อนๆ
จะรับก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร....กลัวก็กลัว..
จะไม่รับก็.....ทำบุญแต่ไร้น้ำใจ
OMG....OH! MY GOD จะบาปไหมนี่
เดี๋ยวนี้สังคมเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเยอะมาก คนไม่ดีทำให้คนดีๆค่อยๆหายไปจากสังคม เพราะฉะนั้น เราพลับพลาชัยและทุกคนต้องช่วยกันและเริ่มต้นที่เราก่อน.....ดีม๊ะ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบลุง pat เริ่มต้นที่เยาวราชเลยป่าว
ตอบลบหุหุ จริงอย่างดีลาว่าอ่ะ
ตอบลบถ้าเจตนาจะให้แล้ว
เค้าจะเอาไปทำอะไรก็เรื่องของเขา
พฤหัสที่แล้ว ดูซิทคอมเรื่อง "เป็นต่อ" ก็มีมุขเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
คนดีไม่หายไปจากสังคมหรอกค่ะ.. เหมือนที่เขาว่า "อยุธยาไม่สิ้นคนดี"
ทว่าอาจจะแค่ไม่ยอมปรากฏตัวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อไหร่ที่สังคมต้องการ คนดีเหล่านั้นก็จะออกมาช่วยเหลือทุกครั้ง
เราว่าอ่านเรื่องนี้แล้ว มันเตือนสติเรื่องการยึดติดกับวัตถุได้เยอะเลยนะ
ต้องขอเปลี่ยนชื่อเล็กน้อย กลัวดัง อีกอย่างชื่อเราก็ไม่ค่อยเพื่อนชาวบ้านอยู่แล้น 5555
ตอบลบ